การจัดทำร่างกฏหมาย
การจัดทำร่างกฏหมาย
 
ความเห็น ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
# ความเห็น
1ไม่เห็นด้วย เป็นการถอยหลังเข้าคลอง แทนที่จะเดินหน้าต่อไป ความรอบรู้เชี่ยวชาญ ในเรื่องนี้สู้ตำรวจไม่ได้ ระบบดีแล้ว เพียงปรับแต่งบุคคลให้มีคุณธรรม.
2การแก้ร่างกฎหมายเป็นการล้าหลัง ปกติฝ่ายปกครองก็ไม่เคยทำงานสอบสวนอยู่แล้ว พูดได้ว่าทำไม่เป็นดีกว่า แต่อยากสั่ง เอาอำนาจสอบสวนไปสั่งแย้งยิ่งทำให้วุ่นวายไปกันใหญ่
3เห็นควรยกเลิก ม145/1 เพราะการตรวจสอบถ่วงดุลควรให้หน่วยงานอื่นที่มิใช่หน่วยงานที่ทำสำนวนการสอบสวนสั่งฟ้องมาตรวจสอบเสียเอง และควรให้ฝ่ายปกครองทำสำนวนการสอบสวนและทำความเห็นทางคดีเองสำหรับความผิดตามกฎหมายบางฉบับที่อยู่ในอำนาจของฝ่ายปกครอง เนื่องจากจะเป็นการอำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชนได้อย่างทั่วถึงรวดเร็วและเป็นธรรม
6ด้วยชมรมพนักงานสอบสวนฝ่ายปกครอง ได้สนับสนุนภารกิจของกรมการปกครองในทุกมิติ โดยเฉพาะในด้านการสืบสวนสอบสวนคดีอาญาเพื่ออำนวยความเป็นธรรมให้กับประชาชน ซึ่งในห้วงระยะเวลาที่ผ่านมา ชมรมพนักงานสอบสวนฝ่ายปกครอง ได้ติดตามข่าวสารและร่วมแสดงความคิดเห็นในเรื่องสำคัญ ๆ เช่น ร่างพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีอาญา พ.ศ. .... การสอบสวนคดีอาญาในอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนฝ่ายปกครอง การที่พนักงานฝ่ายปกครองจับกุมปราบปรามผู้กระทำความผิดรายสำคัญในคดียาเสพติด คดีค้ามนุษย์ คดีการพนัน ฯลฯ รวมถึงการพัฒนาทักษะให้กับพนักงานสอบสวนฝ่ายปกครอง (โครงการ DOPA SPECIAL AGENT) เป็นต้น ทั้งนี้ยังมีเรื่องสำคัญอีกประการหนึ่ง ซึ่งชมรมพนักงานสอบสวนฝ่ายปกครองได้ติดตามมาโดยตลอดและได้ทราบอย่างเป็นทางการ ว่า กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้ดำเนินการยกร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (โดยเสนอขอยกเลิก มาตรา 145/1 ให้อำนาจการทำความเห็นแย้งคำสั่งไม่ฟ้อง ไม่อุทธรณ์ ไม่ฎีกา ฯลฯ ของพนักงานอัยการ กลับมาที่ผู้ว่าราชการจังหวัด) และขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็น ของผู้ที่เกี่ยวข้อง ตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ผ่านทางเว็บไซต์ของกรมการปกครอง ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2563 ชมรมพนักงานสอบสวนฝ่ายปกครอง จึงขอแสดงความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา การทำความเห็นแย้งคำสั่งไม่ฟ้อง ไม่อุทธรณ์ ไม่ฎีกา ฯลฯ ของพนักงานอัยการในทุกจังหวัดเป็นหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดมาโดยตลอด ตามหลักการ “ตรวจสอบถ่วงดุล” ซึ่งหลักการนี้เป็นหัวใจสำคัญในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145 ต่อมาหลักการดังกล่าว ได้เปลี่ยนแปลงไปตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 115/2557 ลงวันที่ 21 กรกฎาคม 2557 แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145/1 ให้เป็นอำนาจของผู้บัญชาการหรือ รองผู้บัญชาการ ซึ่งนอกจากจะไม่เป็นการตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างพนักงานสอบสวนกับพนักงานอัยการอย่างเหมาะสมแล้ว ยังเป็นปัญหาและอุปสรรคหลายประการ ซึ่งกระทบต่อการอำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชนโดยตรง โดยเจตนารมณ์ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในเรื่องการทำความเห็นแย้ง ตามมาตรา 145 กฎหมายประสงค์ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งเป็นผู้บริหารสูงสุดในส่วนภูมิภาคในพื้นที่จังหวัด มีอำนาจหน้าที่โดยตรงตามกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ที่ต้องดูแลให้มีการปฏิบัติและบังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยและเป็นธรรมในสังคม ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัด อยู่ในฐานะบุคคลที่มิได้เป็นผู้มีส่วนได้เสียในผลแห่งคดี อันถือได้ว่าเป็นคนกลางระหว่างพนักงานสอบสวนกับพนักงานอัยการ ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้กำหนดให้อำนาจการสอบสวนและการฟ้องคดีเป็นอำนาจของรัฐ โดยให้อำนาจการสอบสวนอยู่กับพนักงานสอบสวนและอำนาจการฟ้องคดีอยู่กับพนักงานอัยการ โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นฝ่ายปกครองทำหน้าที่ตรวจสอบถ่วงดุลการใช้ดุลพินิจคำสั่งไม่ฟ้อง ไม่อุทธรณ์ ไม่ฎีกา ฯลฯ ของพนักงานอัยการ ซึ่งเป็นการตรวจสอบถ่วงดุลตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย เพื่อให้คดีเกิดความยุติธรรมอันนำไปสู่ความเป็นธรรมในสังคมและเป็นที่ยอมรับของประชาชน ซึ่งหลักการข้างต้นนี้เป็นความพยายามของระบบกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาทุกประเทศทั่วโลกที่จะต้องจัดความสมดุลระหว่างหลักการควบคุมอาชญากรรม (Crime Control Model) และหลักการควบคุมการใช้อำนาจรัฐ (Due Process Model) เพื่อให้เกิดการตรวจสอบถ่วงดุลอย่างเหมาะสม ป้องกันมิให้ใช้อำนาจตามอำเภอใจ อันจะมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา แต่เมื่อมีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145/1 ด้วยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 115/2557 ฯ ซึ่งนอกจากจะเป็นการออกกฎหมายที่ไม่ผ่านการพิจารณาจากฝ่ายนิติบัญญัติแล้ว ยังไม่ได้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างรอบด้านอีกด้วย นอกจากนี้ จะเห็นได้ชัดว่าคดีอาชญากรรมส่วนใหญ่ เป็นคดีร้ายแรงที่มีอัตราโทษสูง (เขตอำนาจศาลจังหวัด) มีผู้กระทำความผิดรายสำคัญและเป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับความสงบเรียบร้อย ของประชาชน โดยเจ้าพนักงานตำรวจเป็นผู้เริ่มต้นคดีและเป็นผู้ทำสำนวนการสอบสวนส่งความเห็นไปยังพนักงานอัยการก่อนที่จะนำคดีขึ้นสู่ศาล และหากพนักงานอัยการได้ใช้ดุลพินิจมีคำสั่งไม่ฟ้อง ไม่อุทธรณ์ ไม่ฎีกา ฯลฯ มาตรา 145/1 ให้อำนาจผู้บัญชาการหรือรองผู้บัญชาการ ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ เป็นผู้ตรวจสอบคำสั่งของพนักงานอัยการอีกเป็นครั้งที่สอง ย่อมอาจเกิดความไม่เป็นกลาง ขัดกับหลักประกันความโปร่งใสของระบบการสอบสวนคดีอาญาและเป็นการทำลายหลักการตรวจสอบถ่วงดุลในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ต้องการให้มีการถ่วงดุลการใช้อำนาจรัฐอย่างมีประสิทธิภาพ ในภาพรวมของการศึกษาและการรวบรวมความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวได้มีหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม รวมถึงผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านกฎหมายได้ทำการศึกษาและรวบรวม ความคิดเห็นต่อการบังคับใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145/1 จากผู้ปฏิบัติงานและประชาชนโดยทั่วไป ซึ่งเสียงส่วนใหญ่เป็นไปในทิศทางเดียวกันว่า เห็นควรเสนอให้มีการยกเลิกประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145/1 และให้การทำความเห็นแย้งกลับมาเป็นหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด ตามมาตรา 145 (เดิม) จะเหมาะสมกว่า ดังนั้น ชมรมพนักงานสอบสวนฝ่ายปกครอง จึงเห็นด้วยอย่างยิ่งกับการยกเลิกประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145/1 ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดกลับมาเป็นผู้ทำความเห็นแย้ง ตามมาตรา 145 (เดิม) ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ประกอบเหตุผลสำคัญอื่น ๆ ดังนี้ 1. ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 115/2557 ฯ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145/1 เป็นการออกกฎหมายที่ไม่ผ่านการพิจารณาจาก ฝ่ายนิติบัญญัติและไม่มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างรอบด้าน 2. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145/1 ลดจำนวนองค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบถ่วงดุลในกระบวนการยุติธรรมให้น้อยลง โดยขาดองค์กรที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดทำหน้าที่กลั่นกรองการสั่งไม่ฟ้องคดีของพนักงานอัยการ ซึ่งกระทบต่อความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมของประชาชน 3. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145/1 ส่งผลให้ฝ่ายตำรวจซึ่งเป็นผู้ทำสำนวนการสอบสวนและความเห็นทางคดีส่งพนักงานอัยการ มีหน้าที่ทำความเห็นแย้งคำสั่งไม่ฟ้อง ไม่อุทธรณ์ ไม่ฎีกา ฯลฯ ของพนักงานอัยการ ย่อมก่อให้เกิดความไม่เป็นกลางและขัดกับหลักการตรวจสอบ ถ่วงดุล ซึ่งควรกระทำโดยหน่วยงานกลาง และผู้ว่าราชการจังหวัด (ผู้แทนหน่วยงานกลาง) เป็นบุคคลที่ไม่ได้มีส่วนได้เสียในทางคดีอาญาและมีความเหมาะสมตรงตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ดั่งที่ได้มีบัญญัติไว้แล้วในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145 4. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145/1 ขัดแย้งต่อหลักการควบคุมตรวจสอบในกระบวนการยุติธรรม เนื่องจากปกติพนักงานสอบสวนฝ่ายตำรวจมีหน้าที่รวบรวมพยานหลักฐานและเสนอความเห็นทางคดีส่งพนักงานอัยการ แต่การที่กำหนดให้ฝ่ายตำรวจทำหน้าที่แย้งคำสั่งไม่ฟ้อง ไม่อุทธรณ์ ไม่ฎีกา ฯลฯ ของพนักงานอัยการ อีกครั้งหนึ่ง จึงขัดแย้งต่อหลักการดังกล่าวเช่นเดียวกัน 5. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145/1 ก่อให้เกิดความล่าช้าในการพิจารณาทำความเห็นแย้ง เนื่องจากสำนักงานตำรวจภูธรภาคมีเพียง 9 ภาค และบางพื้นที่อยู่ห่างไกลจากสำนักงานอัยการจังหวัดมาก จึงเกิดความสิ้นเปลืองและความล่าช้าในการเดินทางที่ไม่สะดวกต่อผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งหากเปรียบเทียบกับศาลากลางจังหวัดที่มีทั้ง 76 จังหวัด การเดินทางและการส่งสำนวนเป็นไปโดยสะดวก โดยผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถพิจารณาทำความเห็นทางคดีได้อย่างรวดเร็วและไม่มีข้อจำกัดแต่อย่างใด 6. การทำความเห็นแย้งของผู้ว่าราชการจังหวัด ถือเป็นการอำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชน ตามกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ดังนั้น การยกเลิกประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145/1 จึงเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการภารกิจของผู้ว่าราชการจังหวัดในการอำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชนโดยตรง 7. กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย มีการจัดตั้งศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด/อำเภอ เพื่อช่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข และอำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชน ในทุกจังหวัดและทุกอำเภอ ทั่วประเทศไทย ดังนั้น การยกเลิกประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145/1 ให้อำนาจการทำความเห็นแย้งกลับมาที่ผู้ว่าราชการจังหวัด ตามมาตรา 145 (เดิม) ประชาชนจึงมีช่องทางในการร้องขอความเป็นธรรมได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และไม่เสียค่าใช้จ่ายให้เกิดความเดือดร้อนแต่อย่างใด 8. ประชาชนมีความใกล้ชิดกับฝ่ายปกครอง (นายอำเภอ ปลัดอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ) และมีความเชื่อมั่นในคุณธรรม จริยธรรม และความซื่อสัตย์สุจริตของผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นอย่างมาก 9. การยกเลิกประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145/1 ย่อมสอดคล้องกับมาตรา 68 และมาตรา 258 ง. (2) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย ซึ่งกำหนดให้รัฐพึงจัดระบบการบริหารงานในกระบวนการยุติธรรมทุกด้านให้มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม และไม่เลือกปฏิบัติ และให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยสะดวก รวดเร็ว และไม่เสียค่าใช้จ่ายสูงเกินสมควร อีกทั้งผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นคนกลางและไม่มีส่วนได้เสียทางคดี ย่อมปราศจากการแทรกแซงหรือการครอบงำ ที่จะสามารถดำรงความยุติธรรมให้กับประชาชนได้อย่างแท้จริง อีกทั้งการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรมต้องมีการปรับปรุงระบบการสอบสวนคดีอาญาให้มีการตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างพนักงานสอบสวนกับพนักงานอัยการอย่างเหมาะสม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมให้กับประชาชน โดยสรุป คือ ชมรมพนักงานสอบสวนฝ่ายปกครอง ขอสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ยกเลิกมาตรา 145/1) ที่กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้ทำการศึกษา วิเคราะห์ และเสนอร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ขึ้นมาโดยตรงตามวิธีปฏิบัติของการเสนอร่างกฎหมาย อีกทั้งได้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้อง ตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งชมรมพนักงานสอบสวนฝ่ายปกครองเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่า การยกเลิกมาตรา 145/1 จะทำให้ระบบการตรวจสอบถ่วงดุลในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาเป็นไปอย่างถูกต้อง เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน ทั้งนี้ ชมรมพนักงานสอบสวนฝ่ายปกครอง ยินดีที่จะสนับสนุนทุกภารกิจของกรมการปกครองในการ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ให้กับประชาชนอย่างยั่งยืนต่อไป
7ด้วยชมรมพนักงานสอบสวนฝ่ายปกครอง ได้สนับสนุนภารกิจของกรมการปกครองในทุกมิติ โดยเฉพาะในด้านการสืบสวนสอบสวนคดีอาญาเพื่ออำนวยความเป็นธรรมให้กับประชาชน ซึ่งในห้วงระยะเวลาที่ผ่านมา ชมรมพนักงานสอบสวนฝ่ายปกครอง ได้ติดตามข่าวสารและร่วมแสดงความคิดเห็นในเรื่องสำคัญ ๆ เช่น ร่างพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีอาญา พ.ศ. .... การสอบสวนคดีอาญาในอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนฝ่ายปกครอง การที่พนักงานฝ่ายปกครองจับกุมปราบปรามผู้กระทำความผิดรายสำคัญในคดียาเสพติด คดีค้ามนุษย์ คดีการพนัน ฯลฯ รวมถึงการพัฒนาทักษะให้กับพนักงานสอบสวนฝ่ายปกครอง (โครงการ DOPA SPECIAL AGENT) เป็นต้น ทั้งนี้ยังมีเรื่องสำคัญอีกประการหนึ่ง ซึ่งชมรมพนักงานสอบสวนฝ่ายปกครองได้ติดตามมาโดยตลอดและได้ทราบอย่างเป็นทางการ ว่า กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้ดำเนินการยกร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (โดยเสนอขอยกเลิก มาตรา 145/1 ให้อำนาจการทำความเห็นแย้งคำสั่งไม่ฟ้อง ไม่อุทธรณ์ ไม่ฎีกา ฯลฯ ของพนักงานอัยการ กลับมาที่ผู้ว่าราชการจังหวัด) และขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็น ของผู้ที่เกี่ยวข้อง ตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ผ่านทางเว็บไซต์ของกรมการปกครอง ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2563 ชมรมพนักงานสอบสวนฝ่ายปกครอง จึงขอแสดงความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา การทำความเห็นแย้งคำสั่งไม่ฟ้อง ไม่อุทธรณ์ ไม่ฎีกา ฯลฯ ของพนักงานอัยการในทุกจังหวัดเป็นหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดมาโดยตลอด ตามหลักการ “ตรวจสอบถ่วงดุล” ซึ่งหลักการนี้เป็นหัวใจสำคัญในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145 ต่อมาหลักการดังกล่าว ได้เปลี่ยนแปลงไปตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 115/2557 ลงวันที่ 21 กรกฎาคม 2557 แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145/1 ให้เป็นอำนาจของผู้บัญชาการหรือ รองผู้บัญชาการ ซึ่งนอกจากจะไม่เป็นการตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างพนักงานสอบสวนกับพนักงานอัยการอย่างเหมาะสมแล้ว ยังเป็นปัญหาและอุปสรรคหลายประการ ซึ่งกระทบต่อการอำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชนโดยตรง โดยเจตนารมณ์ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในเรื่องการทำความเห็นแย้ง ตามมาตรา 145 กฎหมายประสงค์ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งเป็นผู้บริหารสูงสุดในส่วนภูมิภาคในพื้นที่จังหวัด มีอำนาจหน้าที่โดยตรงตามกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ที่ต้องดูแลให้มีการปฏิบัติและบังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยและเป็นธรรมในสังคม ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัด อยู่ในฐานะบุคคลที่มิได้เป็นผู้มีส่วนได้เสียในผลแห่งคดี อันถือได้ว่าเป็นคนกลางระหว่างพนักงานสอบสวนกับพนักงานอัยการ ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้กำหนดให้อำนาจการสอบสวนและการฟ้องคดีเป็นอำนาจของรัฐ โดยให้อำนาจการสอบสวนอยู่กับพนักงานสอบสวนและอำนาจการฟ้องคดีอยู่กับพนักงานอัยการ โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นฝ่ายปกครองทำหน้าที่ตรวจสอบถ่วงดุลการใช้ดุลพินิจคำสั่งไม่ฟ้อง ไม่อุทธรณ์ ไม่ฎีกา ฯลฯ ของพนักงานอัยการ ซึ่งเป็นการตรวจสอบถ่วงดุลตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย เพื่อให้คดีเกิดความยุติธรรมอันนำไปสู่ความเป็นธรรมในสังคมและเป็นที่ยอมรับของประชาชน ซึ่งหลักการข้างต้นนี้เป็นความพยายามของระบบกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาทุกประเทศทั่วโลกที่จะต้องจัดความสมดุลระหว่างหลักการควบคุมอาชญากรรม (Crime Control Model) และหลักการควบคุมการใช้อำนาจรัฐ (Due Process Model) เพื่อให้เกิดการตรวจสอบถ่วงดุลอย่างเหมาะสม ป้องกันมิให้ใช้อำนาจตามอำเภอใจ อันจะมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา แต่เมื่อมีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145/1 ด้วยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 115/2557 ฯ ซึ่งนอกจากจะเป็นการออกกฎหมายที่ไม่ผ่านการพิจารณาจากฝ่ายนิติบัญญัติแล้ว ยังไม่ได้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างรอบด้านอีกด้วย นอกจากนี้ จะเห็นได้ชัดว่าคดีอาชญากรรมส่วนใหญ่ เป็นคดีร้ายแรงที่มีอัตราโทษสูง (เขตอำนาจศาลจังหวัด) มีผู้กระทำความผิดรายสำคัญและเป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับความสงบเรียบร้อย ของประชาชน โดยเจ้าพนักงานตำรวจเป็นผู้เริ่มต้นคดีและเป็นผู้ทำสำนวนการสอบสวนส่งความเห็นไปยังพนักงานอัยการก่อนที่จะนำคดีขึ้นสู่ศาล และหากพนักงานอัยการได้ใช้ดุลพินิจมีคำสั่งไม่ฟ้อง ไม่อุทธรณ์ ไม่ฎีกา ฯลฯ มาตรา 145/1 ให้อำนาจผู้บัญชาการหรือรองผู้บัญชาการ ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ เป็นผู้ตรวจสอบคำสั่งของพนักงานอัยการอีกเป็นครั้งที่สอง ย่อมอาจเกิดความไม่เป็นกลาง ขัดกับหลักประกันความโปร่งใสของระบบการสอบสวนคดีอาญาและเป็นการทำลายหลักการตรวจสอบถ่วงดุลในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ต้องการให้มีการถ่วงดุลการใช้อำนาจรัฐอย่างมีประสิทธิภาพ ในภาพรวมของการศึกษาและการรวบรวมความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวได้มีหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม รวมถึงผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านกฎหมายได้ทำการศึกษาและรวบรวม ความคิดเห็นต่อการบังคับใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145/1 จากผู้ปฏิบัติงานและประชาชนโดยทั่วไป ซึ่งเสียงส่วนใหญ่เป็นไปในทิศทางเดียวกันว่า เห็นควรเสนอให้มีการยกเลิกประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145/1 และให้การทำความเห็นแย้งกลับมาเป็นหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด ตามมาตรา 145 (เดิม) จะเหมาะสมกว่า ดังนั้น ชมรมพนักงานสอบสวนฝ่ายปกครอง จึงเห็นด้วยอย่างยิ่งกับการยกเลิกประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145/1 ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดกลับมาเป็นผู้ทำความเห็นแย้ง ตามมาตรา 145 (เดิม) ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ประกอบเหตุผลสำคัญอื่น ๆ ดังนี้ 1. ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 115/2557 ฯ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145/1 เป็นการออกกฎหมายที่ไม่ผ่านการพิจารณาจาก ฝ่ายนิติบัญญัติและไม่มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างรอบด้าน 2. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145/1 ลดจำนวนองค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบถ่วงดุลในกระบวนการยุติธรรมให้น้อยลง โดยขาดองค์กรที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดทำหน้าที่กลั่นกรองการสั่งไม่ฟ้องคดีของพนักงานอัยการ ซึ่งกระทบต่อความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมของประชาชน 3. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145/1 ส่งผลให้ฝ่ายตำรวจซึ่งเป็นผู้ทำสำนวนการสอบสวนและความเห็นทางคดีส่งพนักงานอัยการ มีหน้าที่ทำความเห็นแย้งคำสั่งไม่ฟ้อง ไม่อุทธรณ์ ไม่ฎีกา ฯลฯ ของพนักงานอัยการ ย่อมก่อให้เกิดความไม่เป็นกลางและขัดกับหลักการตรวจสอบ ถ่วงดุล ซึ่งควรกระทำโดยหน่วยงานกลาง และผู้ว่าราชการจังหวัด (ผู้แทนหน่วยงานกลาง) เป็นบุคคลที่ไม่ได้มีส่วนได้เสียในทางคดีอาญาและมีความเหมาะสมตรงตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ดั่งที่ได้มีบัญญัติไว้แล้วในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145 4. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145/1 ขัดแย้งต่อหลักการควบคุมตรวจสอบในกระบวนการยุติธรรม เนื่องจากปกติพนักงานสอบสวนฝ่ายตำรวจมีหน้าที่รวบรวมพยานหลักฐานและเสนอความเห็นทางคดีส่งพนักงานอัยการ แต่การที่กำหนดให้ฝ่ายตำรวจทำหน้าที่แย้งคำสั่งไม่ฟ้อง ไม่อุทธรณ์ ไม่ฎีกา ฯลฯ ของพนักงานอัยการ อีกครั้งหนึ่ง จึงขัดแย้งต่อหลักการดังกล่าวเช่นเดียวกัน 5. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145/1 ก่อให้เกิดความล่าช้าในการพิจารณาทำความเห็นแย้ง เนื่องจากสำนักงานตำรวจภูธรภาคมีเพียง 9 ภาค และบางพื้นที่อยู่ห่างไกลจากสำนักงานอัยการจังหวัดมาก จึงเกิดความสิ้นเปลืองและความล่าช้าในการเดินทางที่ไม่สะดวกต่อผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งหากเปรียบเทียบกับศาลากลางจังหวัดที่มีทั้ง 76 จังหวัด การเดินทางและการส่งสำนวนเป็นไปโดยสะดวก โดยผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถพิจารณาทำความเห็นทางคดีได้อย่างรวดเร็วและไม่มีข้อจำกัดแต่อย่างใด 6. การทำความเห็นแย้งของผู้ว่าราชการจังหวัด ถือเป็นการอำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชน ตามกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ดังนั้น การยกเลิกประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145/1 จึงเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการภารกิจของผู้ว่าราชการจังหวัดในการอำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชนโดยตรง 7. กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย มีการจัดตั้งศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด/อำเภอ เพื่อช่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข และอำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชน ในทุกจังหวัดและทุกอำเภอ ทั่วประเทศไทย ดังนั้น การยกเลิกประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145/1 ให้อำนาจการทำความเห็นแย้งกลับมาที่ผู้ว่าราชการจังหวัด ตามมาตรา 145 (เดิม) ประชาชนจึงมีช่องทางในการร้องขอความเป็นธรรมได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และไม่เสียค่าใช้จ่ายให้เกิดความเดือดร้อนแต่อย่างใด 8. ประชาชนมีความใกล้ชิดกับฝ่ายปกครอง (นายอำเภอ ปลัดอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ) และมีความเชื่อมั่นในคุณธรรม จริยธรรม และความซื่อสัตย์สุจริตของผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นอย่างมาก 9. การยกเลิกประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145/1 ย่อมสอดคล้องกับมาตรา 68 และมาตรา 258 ง. (2) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย ซึ่งกำหนดให้รัฐพึงจัดระบบการบริหารงานในกระบวนการยุติธรรมทุกด้านให้มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม และไม่เลือกปฏิบัติ และให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยสะดวก รวดเร็ว และไม่เสียค่าใช้จ่ายสูงเกินสมควร อีกทั้งผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นคนกลางและไม่มีส่วนได้เสียทางคดี ย่อมปราศจากการแทรกแซงหรือการครอบงำ ที่จะสามารถดำรงความยุติธรรมให้กับประชาชนได้อย่างแท้จริง อีกทั้งการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรมต้องมีการปรับปรุงระบบการสอบสวนคดีอาญาให้มีการตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างพนักงานสอบสวนกับพนักงานอัยการอย่างเหมาะสม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมให้กับประชาชน โดยสรุป คือ ชมรมพนักงานสอบสวนฝ่ายปกครอง ขอสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ยกเลิกมาตรา 145/1) ที่กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้ทำการศึกษา วิเคราะห์ และเสนอร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ขึ้นมาโดยตรงตามวิธีปฏิบัติของการเสนอร่างกฎหมาย อีกทั้งได้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้อง ตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งชมรมพนักงานสอบสวนฝ่ายปกครองเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่า การยกเลิกมาตรา 145/1 จะทำให้ระบบการตรวจสอบถ่วงดุลในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาเป็นไปอย่างถูกต้อง เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน ทั้งนี้ ชมรมพนักงานสอบสวนฝ่ายปกครอง ยินดีที่จะสนับสนุนทุกภารกิจของกรมการปกครองในการ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ให้กับประชาชนอย่างยั่งยืนต่อไป
8การอำนวยความเป็นธรรมให้แก่ประชาชน​ไม่จำเป็นต้องเเย่งงานมาจากหน่วยงานอื่น และไม่จำเป็นต้องสาดโคลนใส่หน่วยงานอื่นว่าอำนวยความเป็นธรรมให้กับประชาชนไม่ได้ หากอำนวยความเป็นธรรมไม่ได้จริงขอให้กรมการปกครอง (กรมที่เอาแต่คิดว่าตนคือผู้วิเศษ​สามารถช่วยเหลือประชาชนได้ทุกอย่าง)​ยกตัวอย่างให้รู้หน่อยว่า หน่วยงานอื่นอำนวยความ​เป็นธรรม​ไม่ได้​อย่างไร มิใช่เอาแต่วลีว่าตนสามารถ​อำนวยความ​เป็นธรรม​ให้ประชาชนได้ - ไม่เห็นด้วย​กับการยกเลิกมาตรา 145/1 แต่เห็นว่าควรตัดอำนาจผู้ว่าตาม 145 ไปเป็นอำนาจของสำนักงานอัยการภาคในแต่ละภาค
9ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขครับ​ด้วยเหตุผลดังนี้ - ผู้ว่าราชการจังหวัด​ ส่วนใหญ่จบ​ รปศ / รศ มีเพียงส่วนน้อยที่จบนิติศาสตร์​ ประกอบกับ​ ฝ่ายปกครองแทบจะนับจำนวนได้ที่เคยผ่านงานการทำสำนวนการสอบสวน​ จึงเรียก​ได้ว่า​ ฝ่ายปกครองแทบไม่มีความรุ้ความเข้าใจในการสอบสวนเลย​ เมื่อไม่เข้าใจแล้วจะอำนวยความเป็นธรรมในดัานนี้ได้อย่างไร - การอำนวยความ​ยุติธรรม​ให้แก่ประชาชน​ปัจจุบัน​ มีอัยการคุ้มครอง​สิทธิ​และ​ช่วยเหลือ​ทางกฎหมาย​คอยช่วยเหลือประชาชน​ในเรื่องร้องเรียน​ร้องทุกข์​ต่าง​ๆ​ รวมถึง​ฟ้องคดีให้ด้วย​ต่างจากศูนย์​ดำรง​ธรรม​อำเภอต่างๆ​ที่ไม่สามาารถ​ช่วยเหลือประชาชน​ได้จริง​ ทำการไกล่เกลี่ยเพียงเพื่อเป็นหลักฐานในการเบิกค่าตอบแทนให้ตนเองเท่านั้น​ หากมีปัญหา​จนถึงขั้นต้องฟ้องคดี​สุดท้ายประชาชน​ก็ไปพึ่งอัยการ​คุ้มคร​องสิทธิเช่นเดิม​ หรือแม้กระทั้ง​ยุติธรรม​จังหวัดที่ช่วยเหลือประชาชนได้จริงและมีผลงานที่เป็นรูปธรรมได้จริง​ มิใช่ผลงานที่เกิดจากการเบิกจ่ายเงินค่าไกล่เกลี่ย​ - บุคลากร​ของที่ทำการปกครองจังหวัด​ในแต่ละจังหวัดที่ทำหน้าที่ตรวจสำนวนให้ผู้ว่ามีเพียง​ 1 คน ที่เป็นนิติกร​ที่ทำหน้าที่​ด้านนี้​ ดังนั้น​ จึงเป็นไปไม่ได้​ที่นิติกรคนเดียวจะกลั่นกรองงานให้ผู้ว่าได้ทั้งหมด​ (โดยเฉพาะจังหวัดใหญ่ๆ)​ ในทางตรงกันข้ามจะทำให้ไม่สามารถ​ตรวจสำนวนได้ทัน​ การยกเลิกมาตรา​ 145/1 จึงก่อให้เกิดภาระแก่ผู้ทำหน้าที่ตรวจสำนวนมากกว่า​การอำนวยความ​เป็นธรรม​ให้ประชาชน -ปัจจุบัน​ประเทศเดินทางไปสู่การกระจายอำนาจให้แก่​ อปท ซึ่งภาระกิจต่าง​ๆ​จะมีการถ่ายโอนไปสู่ท้องถิ่น​ ระบบกำนัน​ ผู้ใหญ่​บ้านก้จะค่อย​ ๆ​ หายไป​ ในท้องถิ่นเทศบาลเมือง​ เทศบาลนคร​ แล้วเพราะเหตุใด​กรมการปกครองจะกอดรัดอำนาจเช่นนั้น​ ซึ่งตนมิได้มีความเชี่ยวชาญมาไว้กับตนเอง​ เพราะสุดท้ายการกระจายอำนาจให้แก่​ อปท​ ต้องสำเร็จ​ และบทบาทของกรมการปกครองก้จะไม่ต่างอะไร​จาก กรม​ กระทรวง​อื่น​ ๆ​ ที่มีหน้าที่เฉพาะตามภารกิจตนเอง​ ซึ่งภารกิจในการทำความเห้นแย้ง​ โดยเนื้อแท้ควรเป้นของอัยการสูงสุด​ ซึ่งเป็นผู้มีความรู้​ความสามารถ​ และมีอาวุโส​กว่าพนักงานอัยการ​ ที่จะต้องตรวจสอบดุลพินิจของพนักงานอัยการ - ทุก​ๆ​หน่วยงานล้วนสามารถ​อำนวยความ​เป็นธรรม​ให้กับประชาชนได้ทั้งสิ้น​ ไม่จำเป็นต้องเป็นกรมการปกครองเพียงอย่างเดียว​ ดังเช่นที่กรมการปกครองมักใช้กล่าวอ้าง​ และมักปลุกฝังความคิดเช่นนั้นให้ปลัดอำเภอ​ ซึ่งเป้นความคิดที่ไม่ถูกต้อง - กรมการปกครองมักกล่าวอ้างว่า​ ตำรวจภูธรภาค​ อำนวยความเป็นธรรมไม่ได้​ เพื่อเป็นเหตุผลในการยกเลิก​ มาตรา​ 145/1 ซึ่งเท่าที่สำนวนไปยุที่ตำรวจภูธรภาคก้ยังไม่มีกรณีใดที่เด่นชัดว่ามีความไม่เป็นธรรม​ เป็นแต่เพียงความรู้สึก​ของกรมการปกครองที่รู้สึก​ว่า​ตัวเอง​ถูกเเย่งอำนาจ​ มิใช่ถูกเเย่งหน้าที่​ -- อาศัย​เหตุ​ผลดังกล่าวจึงไม่เห็นด้วยกับการยกเลิก​ มาตรา​ 145/1
10ถ้ายึดหลักประชาชนเป็นหลัก ความสมดุลระหว่างหลักการควบคุมอาชญากรรม (Crime Control Model) และหลักการ ควบคุมการใช้อำนาจรัฐ (Due Process Model) เพื่อให้เกิดการถ่วงดุลอย่างเหมาะสม ซึ่งเป็นการป้องกันมิให้ ใช้อำนาจตามอำเภอใจ อันจะมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ซึ่งตามหลัก กฎหมายต้องการให้ใช้เหตุผลในการใช้อำนาจตรวจสอบ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามกฎหมาย




































































































ส่วนงานนิติการ สำนักการสอบสวนและนิติกร โทร.023569569
ออกแบบและพัฒนาโดย ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารงานปกครอง